เมื่อองค์กรมีปัญหาระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่ไม่สามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ รวมไปถึงองค์กรที่ต้องการเริ่มทำ Digital Transformation หนึ่งในการปรับปรุงคือการหาระบบ ERP เข้ามาเสริมประสิทธิภาพการทำงานในแผนกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Front office หรือ Back office โดยมีปัจจัยหลักๆ อยู่ 6 ปัจจัย คือ
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการว่าองค์กรต้องการนำ ERPมาแก้ไขหรือปรับปรุงการทำงานด้านใดบ้าง
ก่อนเริ่มกระบวนการเลือกระบบ ERP องค์กรจะต้องตระหนักรู้ถึงปัญหาที่ต้องการแก้ไขเสียก่อน โดยการวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจและความต้องการ เพื่อให้ระบบ ERP ที่เลือกสามารถตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะระบบ ERP มีอยู่หลากหลายประเภท และมีความเชี่ยวชาญในงานแต่ละประเภทแตกต่างกัน และหากเป็นไปได้ควรเลือกใช้ระบบ ERP จากผู้ให้บริการรายเดียวกัน เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
2. สร้างการมีส่วนรวมของพนักงาน
การที่เราจะนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กรได้นั้น ควรจะต้องรับฟังความคิดเห็นจากคนในองค์กรของเราเอง ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก จนไปถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ สร้างการสื่อสารกับคนในองค์กรว่าการนำ ERP จะมีประโยชน์กับองค์กรอย่างใด จะสามารถนำมาปรับปรุงการทำงานของพนักงานแต่ละระดับอย่างไร โครงการ ERP หลายโครงการไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดความร่วมมือของพนักงาน หรือมีระบบพร้อมใช้งานแล้ว แต่พนักงานยังใช้ระบบเก่าอยู่เนื่องจากความเคยชินและไม่อยากเปลี่ยนแปลงการทำงาน
3. เลือกระบบที่สอดคล้องกับความต้องการและงบประมาณที่มี
เมื่อองค์กรทราบถึงความต้องการที่ชัดเจนแล้ว องคร์กรสามารถเลือกระบบ ERP ที่ตอบโจทย์ความต้องการ และอยู่ในงบประมาณที่กำหนด ระบบ ERP ที่เหมาะกับองค์กรของท่าน ควรจะมีฟังก์ชันการทำงานที่จะสนับสนุนการแก้ไขจุดบอดในองค์กร และมีขนาดที่เหมาะสมกับองค์กร อย่างเช่น องค์กรขนาดใหญ่ มีการทำงานที่ซับซ้อน ERP ขนาดเล็กอาจจะไม่เหมาะสม เนื่องจากฟังก์ชันไม่สามารถตอบสนองงานที่มีความซับซ้อนได้ ซึ่งขั้นตอนนี้ทาง Vendor จะนำเสนอข้อมูลของ ERP ให้กับผู้ใช้งาน รวมถึงแผนกไอทีขององค์กร เพื่อให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจคัดเลือกระบบ ERP
- ระบบ ERP ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจการผลิต (Manufacturing)
- ระบบ ERP ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค (Energy & Utilities)
- ระบบ ERP ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจบริการงานซ่อม (Service)
- ระบบ ERP ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจการบริหารงานโครงการ (Project)
4. เลือกระบบที่สามารถเชื่อมต่อกับซอฟต์แวร์ด้านอื่นๆ พร้อมรองรับการเติบโตขององค์กร
ในการขึ้นระบบ ERP องค์กรอาจจะมีการใช้งานโปรแกรมอื่นๆ อยู่แล้ว ดังนั้นควรพิจารณาว่าระบบ ERP ที่กำลังพิจารณา สามารถทำงานร่วมกับโปรแกรมเดิมที่มีอยู่แล้วได้หรือไม่ มีค่าใช้จ่ายในการที่จะเชื่อมต่อระบบหรือไม่ นอกจากนี้ต้องพิจารณาอีกด้วยว่าถ้าองค์กรมีการขยายการใช้งานเช่น เพิ่มจำนวนยูสเซอร์ หรือ เพิ่มโมดูลงานส่วนอื่น ระบบ ERP นั้นมีความสามารถในการรองรับความต้องการที่ขยายตัวหรือไม่
5. ระบบ ERP ควรมีความทันสมัยไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มของเทคโนโลยี
ระบบที่องค์กรเลือกควรมีความทันสมัยไปในทิศทางเดียวกับแนวโน้มของเทคโนโลยี อย่างเช่นระบบ ERP ในปัจจุบันจะเป็นระบบ Cloud ที่ลูกค้าสามารถใช้งานจากที่ไหนก็ได้ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งผู้ให้บริการ ERP ส่วนใหญ่ก็จะพัฒนาเวอร์ชันล่าสุดบนระบบ Cloud แล้ว ซึ่งจะมีระบบ Security ที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง
6. เลือกผู้ให้บริการ ERP ที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนได้จริง
การเลือกผู้ให้บริการ ERP ที่มีประสบการณ์ในการบริการยาวนานและมีผู้ใช้งานจริงจำนวนมากจะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ ซึ่งผู้ให้บริการดังกล่าวจะเข้าใจถึงความต้องการของท่าน สามารถให้คำปรึกษา ร่วมวางแผน และเสนอทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับองค์กร
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ ERP สามารถกรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับได้ที่:
สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ ERP โดยเฉพาะ