ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมผลิตมีความท้าทายสูง เนื่องจากเรากำลังอยู่ในช่วงเวลาของการหยุดชะงักอย่างฉับพลัน สร้างความผันผวนอย่างต่อเนื่องและเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงทำให้บริษัทต่างๆ ต้องปรับตัว อย่างรวดเร็วตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้องค์กรต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวทางการแข่งขัน และความทุ่มเทที่จะลงทุนในเทคโนโลยีและกระบวนการใหม่ๆ สิ่งนี้ทำให้เกิดความท้าทายสูงขึ้นไปอีก จากข้อเท็จจริงที่ว่ารสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตลาดมักจะผันผวนอยู่เสมอ
บริษัทต่างๆ มุ่งการพัฒนาการดำเนินงานและผลิตภัณฑ์เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ผู้ผลิตส่วนใหญ่นำเสนอผลิตภัณฑ์ระดับท็อป ที่มาพร้อมกระบวนการ ปรับแต่งอย่างละเอียด (มิฉะนั้นผลิตภัณฑ์ไม่อาจอยู่ในตลาดได้) แต่การเพิ่มมูลค่าให้กับรูปแบบการ ผลิตแบบดั้งเดิม การจัดหา-ผลิต-ส่งมอบ นั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในบางภาคส่วน มองจากปัญหาที่มีอยู่ในตลาด เช่น ซัพพลายเออร์ส่งมอบของไม่ตรงเวลา การขาดแคลนคอนเทนเนอร์สำหรับการขนส่ง ต้นทุนการผลิต และโรงงานที่เกิดหยุดชะงัก เหนือสิ่งอื่นใดคืออัตราเงินเฟ้อที่บั่นทอนตลาดช่องทางการจัดจำหน่ายที่ไร้ประสิทธิภาพ และลูกค้าอาจไม่มีกำลังซื้อ
บริษัทผู้ผลิตจำเป็นต้องมีความพร้อมของทรัพยากรในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นทันที และในขณะเดียวกันก็ต้องมองไปถึงความท้าทายระยะยาวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ดังนั้น ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าบริษัทผู้ผลิตจะเปลี่ยนแปลงจากการค้นพบวิธีใหม่และมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการจัดการธุรกิจของตนเอง
ผู้ผลิตจำเป็นต้องขับเคลื่อนดิจิทัลเพื่อเดินหน้าสู่ขั้นต่อไป
ผลการสำรวจ Global Future of Manufacturing Survey ของ IDC เน้นย้ำว่าการเติบโตทางดิจิทัลส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผลกำไรและการเติบโตในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
(ข้อมูลเพิ่มเติมในบทความ Shaping the Future of Manufacturing ของ IDC InfoBrief , IDC #EUR150205923, มีนาคม 2023).
การสำรวจนั้นแสดงให้เห็นว่าบริษัทผู้ผลิตที่ประเมินว่าบริษัทตัวเองนั้น “มีความก้าวหน้าทางดิจิทัล” สามารถสร้างความเสถียรภาพและเพิ่มผลกำไรในปีงบประมาณที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตได้เรียนรู้ และรวมถึงผู้เข้ามาร่วมงาน “ปาร์ตี้ดิจิทัล” ช้ากว่าคู่แข่งกำลังสร้างรากฐานเทคโนโลยีใหม่เพื่อ ปรับใช้แอปพลิเคชันทางธุรกิจสมัยใหม่ หลายบริษัทลงทุนด้านไอทีในเปอร์เซ็นต์ที่สูง เพื่อสร้างสรรค์ นวัตกรรมด้านไอที โดย 47% ของผู้ผลิตทั่วโลกกำลังพัฒนาและปรับใช้ระบบไอทีที่เป็น นวัตกรรมบนคลาวด์ รวมถึงระบบการวิเคราะห์ขั้นสูง
คลาวด์ การอินทิเกรตกับระบบภายนอก และความก้าวหน้าด้านไอทีที่สามารถทำงานแบบแยกส่วน
การวิจัยเดียวกันยังชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้ผลิตกำลังมองหาเมื่อคัดเลือกผู้ให้บริการโซลูชัน IT สำหรับองค์กร ในกระบวกการพัฒนาของพวกเขา เกณฑ์ 3 อันดับแรกคือ:
กลยุทธ์เน้นระบบคลาวด์อันดับแรก และโร้ดแมป
แทบไม่น่าแปลกใจเลย ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า ยิ่งผู้ผลิตมีความก้าวหน้าทางดิจิทัลมากเท่าใด พวกเขาก็จะย้ายซอฟต์แวร์องค์กรส่วนใหญ่ไปอยู่บนระบบคลาวด์มากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากขั้นตอนการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ที่ง่ายขึ้น ผู้ผลิตชั้นนำจึงสามารถ สร้างรากฐานด้านไอทีที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อมุ่งเน้นการเติบโตทางรายได้และผลกำไรในระยะยาว แม้ในกระบวนการปฏิบัติงาน เช่น การปฏิบัติงานภายในโรงงาน หลังจากที่เคยเป็น “ข้อห้าม” ภายในโรงงาน มานานหลายปี คลาวด์คือกุญแจสำคัญ ระบบแบบ Edge-to-Cloud ช่วยให้องค์กรพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตจนถึงความหยุดชะงักเป็นศูนย์ ในขณะที่โซลูชันบนคลาวด์ช่วยให้สามารถรวบรวมแอปพลิเคชัน ได้ง่ายขึ้น พร้อมสนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลและการใช้ข้อมูลที่ดีขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของรายได้และกำไร
การผสานรวมเทคโนโลยีล้ำสมัย
เกณฑ์ข้อนี้เกี่ยวข้องกับระบบคลาวด์อย่างมาก จากนวัตกรรม ที่เกิดขึ้นนอกไฟร์วอลล์ขององค์กร โซลูชันบนระบบคลาวด์ ช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนองค์กร พัฒนาความสามารถเพิ่มเติมได้ง่ายขึ้น (พลังการประมวลผล การจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล เครื่องมือรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง) และนวัตกรรมด้านไอที โดยส่วนใหญ่นั้นเกี่ยวกับ Machine Learning และระบบ AI ด้วยวิธีนี้ทำให้บริษัทสามารถประมวลผลอย่างต่อเนื่องทั้งเครือข่าย ไปจนถึงที่เก็บข้อมูลส่วนกลาง และไปยังคลาวด์โดยไม่จำเป็นต้องดูแลและเชื่อมต่อ API หลายตัวที่ไม่ได้อยู่บนระบบ
การทำงานแบบโมดูลภายในโซลูชันองค์กรระบบเดียว
ในอดีต การเติบโตด้านไอทีมักมาพร้อมกับความยุ่งยากที่ไม่จำเป็น เมื่อเวลาผ่านไปบริษัทต่างๆ ได้พัฒนาโครงสร้างแอปพลิเคชันทางธุรกิจที่ซับซ้อน ซึ่งมักจะมี Customize ค่อนข้างมาก (พัฒนาขึ้นจากซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดในตลาดซอฟต์แวร์สำเร็จรูป Commercial off-the-Shelf (COTS) หรือบางครั้งก็พัฒนาบนระบบสเปรดชีต) นอกเหนือจากระบบแบบดั้งเดิมขององค์กร แต่การใช้ Excel มากเกินไปเพื่อนำมาใช้เป็นโปรแกรมเก็บข้อมูล หรือระบบไอทีที่ซับซ้อนมากเกินไปจะทำให้เกิดปัญหามากขึ้นในการส่งต่อข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและในระดับที่ถูกต้องทั่วทั้งองค์กร ระบบทางธุรกิจที่ทำงานร่วมกันได้ไม่มีประสิทธิภาพเหล่านี้ (เช่น การตรวจสอบย้อนกลับ, การจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ การจัดการคลังสินค้า และระบบ CRM) มีแนวโน้มที่จะจัดเก็บของข้อมูล โดยเน้นไปที่กระบวนการเฉพาะของตนเองเท่านั้น
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือพวกเขามีประสิทธิภาพในการทำสิ่งที่พวกเขาวางแผนและวางระบบ แต่อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูลไปยังกระบวนการทางธุรกิจ และแอปพลิเคชันอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น เพื่อให้ครอบคลุมกระบวนการภายในองค์กรอย่างมี ประสิทธิภาพ บริษัทต่างๆ มักต้องพึ่งพาแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นมาเองที่มีราคาแพงและยุ่งยาก หรือใช้ระบบ manual ที่มักเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย ข้อมูลเหล่านี้ต้องการระบบที่จะมาช่วยให้การส่งต่อข้อมูลภายในองค์กรได้ง่ายขึ้น
คำแนะนำสุดท้ายสำหรับผู้ผลิต:
พวกเขาควรแน่ใจว่าดิจิทัลเป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนาธุรกิจในขณะนี้ แต่ความคิดริเริ่มที่เน้นการใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวนั้นก็ไม่สามารถทำให้ระบบประสบความสำเร็จหรือมีความสามารถขยายตัวตามความเติบโตของธุรกิจได้ จุดสำคัญคือต้องเน้นการแก้ปัญหาทางธุรกิจและการพัฒนาส่วนงานต่างๆในระบบที่มีความจำเป็นทางธุรกิจ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องมองว่าระบบดิจิทัล เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ไม่ใช่จุดจบในตัวมันเอง เทคโนโลยีไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่คืออนาคต
เกณฑ์ที่บริษัทผู้ผลิตใช้ในการเลือกโซลูชันในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาและกลยุทธ์ด้านดิจิตอล
จากเกณฑ์ 3 อันดับแรกที่บริษัทผู้ผลิตให้ความสำคัญในการคัดเลือกโซลูชัน นั่นก็คือระบบ On Cloudการมีเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยและนำเสนอฟังก์ชันแบบโมดูล ซึ่ง IFS นั้นตอบโจทย์เกณฑ์เหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม
IFS Cloud Manufacturing เป็นชุดแอพพลิเคชัน on Cloud ที่ครบวงจร ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ โดย IFS มีความเชี่ยวชาญในการผลิตประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ เคมี อาหารและเครื่องดื่ม ไฮเทค และอื่นๆ ช่วยให้บริษัทในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีเป้าหมายที่จะนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนาองค์กรให้สอดคล้องกับตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงในปัจจุบัน
กรุณากรอกแบบฟอร์ม
สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน Manufacturing