การจัดการสินทรัพย์เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายด้านรายได้ การผลิต และการทำกำไรมาโดยตลอด ในโลกดิจิตอลการจัดการสินทรัพย์เริ่มมีความจำเป็นมากยิ่งขึ้น ผลสำรวจองค์กรอนาคตและการปรับตัว ( Future Enterprise and Resiliency) ของ IDC ในเดือนมีนาคม 2023 พบว่าองค์กร 49% กำลังพัฒนา Digital Transformation และ 51% กล่าวว่าองค์กรของตัวเองได้ดำเนินการธุรกิจแบบ Digital แล้ว องค์กรที่ได้ทำ Digital Transformation และเปลี่ยนมาเป็นธุรกิจ Digital มีข้อพิจารณาใหม่ๆ มากมายในการตรวจวัดสุขภาพและประสิทธิภาพของสินทรัพย์ของตน
การจัดการประสิทธิภาพสินทรัพย์ในบริบทของการผลิตเป็นช่องทางสำหรับองค์กรในการจัดการสินทรัพย์ที่ช่วยในการผลิตสินค้าเพื่อการจำหน่าย บางครั้งการจัดการสินทรัพย์ถูกมองว่าเป็นเพียงกิจกรรมบำรุงรักษาเพื่อให้สินทรัพย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปในสภาพที่ดีเท่านั้น แต่ความจริงแล้วเป็นมากกว่าการใช้งานสินทรัพย์ไปสู่การดูแลประสิทธิภาพของสินทรัพย์
จากการสำรวจของ IDC เรื่อง SaaSPath 2022 พบว่าองค์กร 28% จัดการสินทรัพย์ด้วยระบบบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ใช้ในการซ่อมแซมและการเปลี่ยนอะไหล่โดยใช้ข้อมูลประสิทธิภาพสินทรัพย์ที่แท้จริง นอกจากนี้ในการสำรวจเดียวกัน พบว่า 31.2% ขององค์กรใช้ระบบบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ตามเวลาและมีการเปลี่ยนอะไหล่ตามตารางที่วางแผนไว้แล้ว และองค์กร 59% สามารถใช้ข้อมูลประสิทธิภาพสินทรัพย์ของตน จัดตารางดูแลสินทรัพย์ องค์กรเหล่านี้ได้ใช้ข้อมูลดิจิตอลในการดำเนินธุรกิจ คำนึงถึงความสำคัญของสินทรัพย์และจัดการสินทรัพย์ให้พร้อมตอบสนองความต้องการขององค์กร เพื่อให้ธุรกิจดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น
องค์กรต่างๆ ที่นำระบบการจัดการประสิทธิภาพสินทรัพย์ (Asset Performance Management – APM) มาใช้พบว่าพวกเขาสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้เนื่องจากสินทรัพย์มีเวลาทำงานมากขึ้น และเมื่อองค์กรสามารถนำข้อมูลประสิทธิภาพมาผสานควบคู่ไปกับ AI และ Machine Learning (ML) เพื่อทำการคาดการณ์ว่าเครื่องจักรจะเสียเมื่อไร ตารางการซ่อมบำรุงที่วางแผนไว้สามารถเอามาใช้เพื่อลดหรือขจัดโอกาสที่เครื่องจักรชำรุด เมื่อสินทรัพย์ได้รับการดูแลผ่านระบบ APM องค์กรสามารถคาดคะเนได้ว่าเครื่องจักรจะชำรุดเมื่อไร และกำหนดไว้ว่าจะต้องบำรุงรักษาอย่างไรบ้าง เพื่อที่เครื่องจักรจะไม่เสียหาย และในทางกลับกันก็ทำให้สินทรัพย์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
เปลี่ยนการบำรุงรักษาจาก Cost Center มาเป็น Profit Center
ความสามารถในการรวบระบบประสิทธิภาพสินทรัพย์แบบเรียลไทม์ โดยการใช้ AI และ Machine Learning และระบบบำรุงรักษาแบบคาดการณ์เพื่อจัดตารางงานซ่อมบำรุง นั่นหมายถึงองค์กรสามารถก้าวไปไกลในการจัดการต้นทุน โดยพัฒนาไปสู่ Profit Center สินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพจะสร้างความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพองค์กรในระดับที่เหมาะสม การเปลี่ยนการบำรุงรักษาสินทรัพย์ที่เคยวิเคราะห์แบบต้นทุน-ผลประโยชน์/ ความสูญเสีย มาเป็นการรับประกันประสิทธิภาพของสินทรัพย์ ซึ่งหมายความว่าธุรกิจสามารถเติบโตได้โดยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหมด นอกจากนี้เมื่อองค์กรพัฒนาการบำรุงรักษาสินทรัพย์ไปสู่การจัดการสภาพสินทรัพย์แบบองค์รวม ความสนใจในตัวสินทรัพย์จะเปลี่ยนไปเน้นความสามารถของสินทรัพย์ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจให้มีกำไร บรรลุรายได้ตามเป้า และมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืนขององค์กร
โดยมีเป้าหมายสามประการที่ธุรกิจจะต้องสนใจได้แก่
- การเพิ่มรายได้
- การลดคาร์บอนจากการดำเนินงาน
- การปรับปรุงความสามารถในการทำกำไร
การใช้ข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนการดำเนินงานจากเน้นต้นทุนมาเป็นการตอบสนองต่อความต้องการ เป็นประโยชน์อย่างมากมายในโลกธุรกิจดิจิทัล การจัดการสุขภาพของสินทรัพย์ในเชิงรุกไม่เพียงแต่ช่วยให้องค์กรมีประสิทธิภาพดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ธุรกิจมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่สำคัญจริงๆ เช่น รายได้ การทำกำไร และความยั่งยืนด้วยสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ การติดตามสินทรัพย์ด้วยระบบ APM จะช่วยในการตรวจสอบสุขภาพของธุรกิจทั้งด้านการเงินและความยั่งยืน
กรุณากรอกแบบฟอร์ม
สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน Enterprise Asset Management