![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/IFS-Supply-Chain.jpg)
การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ถือได้ว่าเป็นหัวใจหนึ่งในการลดต้นทุนขององค์กร โดย Supply Chain จะดูแลกระบวนการขับเคลื่อนของสินค้าและบริการ ตั้งแต่ต้นน้ำคือ การจัดการใบสั่งขาย (Sales Order) จากลูกค้า ทำการจองสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า (Warehouse) ไปจนถึงปลายน้ำ คือ การจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ โดยใช้ระบบการจัดซื้อ (Purchasing) เพื่อนำส่งเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือนำสินค้าเข้าคลังสินค้า เพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าตามใบสั่งขาย
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Screenshot_10-1024x351.png)
SCM on IFS Cloud
โซลูชัน SCM on IFS Cloud มีฟังก์ชันต่างๆที่มีประสิทธิภาพในการจัดการงานด้านห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำระหว่างแผนกขายแผนกคลังสินค้า และแผนกจัดซื้อ นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสมตามประเภทธุรกิจของลูกค้า
ระบบการจัดการคำสั่งขาย (Customer Order)
Customer Order ถือว่าเป็นต้นทางของห่วงโซ่อุปทานที่จะนำส่งสินค้าและบริการไปถึงมือลูกค้า โดยระบบจัดการคำสั่งขาย Customer Order เริ่มการเปิดใบเสนอราคา (Sales Quotation) เพื่อทำเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้า โดยจะมีรายละเอียดไม่ว่าเป็นรหัสสินค้า ชื่อสินค้า จำนวนขาย ราคาขาย สถานะของใบเสนอราคา วัน และสถานที่ส่งมอบ เป็นต้น
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-2-Sales-Quotation.jpg)
เมื่อลูกค้าตอบรับใบเสนอราคา ระบบสามารถเปลี่ยนใบเสนอราคาให้กลายเป็นใบสั่งขาย (Customer Order) ได้อย่างรวดเร็ว ลดปัญหาข้อผิดพลาดระหว่างใบเสนอราคาและใบสั่งขาย โดยใบสั่งขายจะเริ่มทำการจองสินค้า (Reserve) ที่มีอยู่แล้วในคลังสินค้า หรือสั่งผลิต (Shop order) เพื่อเตรียมนำส่งสินค้า สถานะของ Customer Order จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนการขายที่ได้ออกแบบไว้ ยกตัวอย่างสถานะ เช่น Released (ยืนยันแล้ว), Picked (หยิบของแล้ว) และ Delivered (ส่งสินค้าแล้ว) สุดท้ายคือการออกใบแจ้งหนี้ (Invoiced/Closed) พร้อมนำส่งสินค้า และส่งข้อมูลต่อไปยังระบบบัญชีลูกหนี้เพื่อทำการรอรับชำระค่าสินค้า
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-3-Customer-Order.jpg)
Dashboard – Customer Order Management
หน้าจอ Customer Order Management ซึ่งจะรวบรวมข้อมูล Customer Order แยกตาม Site หรือ ตามบริษัท ทำให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมของใบสั่งขายตามสถานะต่างๆของใบสั่งขาย
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-4-Customer-Order-Management.jpg)
ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse Management)
ระบบ On Cloud จะช่วยให้ เจ้าหน้าที่คลังสินค้าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อย่างเช่น การตรวจรับสินค้านอกสถานที่ เจ้าหน้าที่สามารถทำงานผ่านแท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือเข้าถึงข้อมูลที่ต้องใช้ในการตรวจรับงาน หรือสินค้า โดยสามารถลงทะเบียนการรับสินค้าแบบเรียลไทม์
นอกจากนี้ ระบบสินค้าคงคลัง ยังมีฟังก์ชันที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเห็นสภาพ (Capacity) ของคลังสินค้าแต่ละแห่งโดยผ่าน Warehouse Navigator โดยพนักงานจะทราบถึงขนาด (Sizing) ของคลังสินค้าและเงื่อนไขพิเศษ อย่างเช่นอุณหภูมิของคลังสินค้า รวมถึงรายการสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้านั้น โดยเจ้าหน้าที่สามารถทำฟังก์ชันกับสินค้า อย่างเช่น การเคลื่อนย้ายไปยังคลังสินค้าอื่น, การทิ้ง (scrap) หรือการตรวจดูรายละเอียดการจองของสินค้านั้น
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-5-Warehouse-Navigator-1024x488.jpg)
นอกจากนี้ระบบ Warehouse ของ IFS ยังมีฟังก์ชันที่ช่วยเจ้าหน้าที่คลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันในการนับสินค้า (Counting) ระบบการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้า อย่างเช่น Stock Card และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง อย่างเช่น Pick List, Delivery Note
Dashboard – Warehouse Instant View
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-6-Warehouse-Instant-View-428x1024.jpg)
Shipping Planner Outbound
Lobby สำหรับดู Performance การส่งของให้ลูกค้า แสดงรายละเอียดทั้งในส่วนของ Customer Order และ Shipment
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-7-Shipping-Planner-Outbound-1024x531.png)
ระบบการจัดซื้อ (Purchasing)
ระบบ Purchasing จะเริ่มจากใบคำขอจัดซื้อ (Purchase Requisition) ซึ่งสามารถมาไหลมาจากส่วนงานของทั้งองค์กร ไม่ว่าจากแผนกการผลิตสั่งซื้อวัตถุดิบ, การสั่งเพื่อเติมสินค้า(Re-order Point) ในคลังสินค้า, แผนกบำรุงรักษาสั่งซื้ออะไหล่จาก Sales Order ของแผนกขาย และระบบจะทำการรวบรวมทำการคำสั่ง คำนวณปริมาณที่เหมาะสม ทำให้องค์กรลดปัญหา Dead Stock และรักษาระดับสมดุลของสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
นอกจากนี้บริษัทยังสามารถออกแบบขั้นตอนการจัดซื้อตามที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอนุมัติสามารถกำหนดได้ทั้งแบบกลุ่มหรือตามลำดับมูลค่าการจัดซื้อ ยกตัวอย่าง เช่น การจัดซื้อมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านอาจจะให้เฉพาะผู้จัดการแผนกจัดซื้ออนุมัติ แต่มูลค่าสูงกว่า 1 ล้าน จะต้องมีผู้จัดการแผนกและกรรมการผู้จัดการอนุมัติตามลำดับขั้น และฝ่ายจัดซื้อสามารถทำการ Tracking สถานะใบขอจัดซื้อ หรือ ใบสั่งซื้อ จนถึงการตรวจรับสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์ ทำให้ข้อมูลการรับสินค้าถูกส่งต่อไปแผนกที่ดูแลสินค้าคงคลังได้อย่างแม่นยำ
Purchasing Dashboard ทูลที่ช่วยในการวิเคราะห์การทำงานของแผนกจัดซื้อ จัดทำในรูปแบบของกราฟ ทำให้เข้าใจง่าย และสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยการคลิ๊กที่ตัวเลขเท่านั้น ซึ่งระบบ Purchasing ของ IFS นั้นก็มี Dashboard หลายๆตัว ที่ช่วยในการวิเคราะห์ ยกตัวอย่างเช่น
Operational Procurement ซึ่งจะแสดงสถานะของใบคำขอจัดซื้อ ใบจัดซื้อ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็น
รวมของงานฝ่ายจัดซื้อได้
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-8-Operation-Procurement-717x1024.jpg)
Operational Buyer ทางผู้จัดการแผนกจัดซื้อสามารถมองเห็นภาพรวม Work Load ของพนักงานแต่ละคน
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-9-Operation-Buyer-1024x988.jpg)
Supplier Performance จากหน้าจอนี้สามารถเลือกตาม Supplier เพื่อวิเคราะห์การทำงานของซัพพลายเออร์แต่ละราย รวมถึงข้อมูลในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
![](https://th.raceku.com/wp-content/uploads/2025/01/Pic-10-Supplier-Performance-1024x937.jpg)
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ ERP สามารถกรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับได้ที่นี่