มาตรฐาน ISO/IEC 29110 คือมาตรฐานสากลที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้ได้มาตรฐานระดับโลก โดยมุ่งเน้นไปที่การควบคุมคุณภาพของกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ ทั้งในด้านการบริหารจัดการโครงการและด้านเทคนิค ช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากล
ISO/IEC 29110 คืออะไร
มาตรฐาน ISO 29110 คือมาตรฐานที่มุ่งเน้นให้การรับรองคุณภาพการบริหารงานหรือผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ให้แก่หน่วยงานหรือผู้ประกอบการที่มีขนาดเล็ก ตัวมาตรฐานได้ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างบทบาทควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิตซอฟต์แวร์ทั้งทางด้านการบริหารงานและทางด้านเทคนิคให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดย่อม อีกทั้งยังเป็นมาตรฐานที่สามารถลดต้นทุนในการบริหารและจัดการกระบวนการควบคุมคุณภาพการผลิตที่ยังไม่สูงมาก จะเห็นได้ว่ามาตรฐานนี้ได้ยกระดับคุณภาพซอฟต์แวร์ของผู้พัฒนาไทยให้มีมาตรฐาน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆได้
ISO 29110 จะให้ความสำคัญกับ 2 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการบริหารจัดการโครงการและกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
1. กระบวนการด้านการบริหารจัดการโครงการ (Project Management)
กระบวนการนี้จะคอยจัดการทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน Project ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงการจบงาน ซึ่งจะทำให้มั่นใจได้ว่า Project จะประสบความสำเร็จ และลูกค้าจะได้รับประโยชน์สูงสุดจาก Project
01 Project Planning
การวางแผนด้านระยะเวลาและการจัดการทรัพยากรใน Project ควบคุมภาพรวมของคุณภาพและการติดตามงาน เพื่อส่งมอบงานได้ตามข้อกำหนดและภายในระยะเวลาตามสัญญา
02 Project Plan Execution
การดำเนินงานตามแผนงานของ Project รวมถึงการติดตามความคืบหน้าของ Project และมีการทำรายงาน Progress Status Report ซึ่งอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนงานใน Project ที่อาจส่งผลต่อระยะเวลาของ Project
03 Project Assessment & Control
การประเมินประสิทธิภาพของ Project โดยนำข้อมูล Project ที่วางแผนไว้เปรียบเทียบกับความคืบหน้า Actual เพื่อประเมินว่าทุกอย่างเป็นไปตามแผนการมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นในส่วน Resource หรือค่าใช้จ่าย เป็นต้น
04 Project Closure
การจัดเตรียมเอกสารรวมถึงระบบงานและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อส่งมอบงานได้ตามความต้องการของสัญญา เช่น มีการส่งมอบงานตาม Delivery Instructions ที่ได้ระบุไว้ใน Project Plan และได้มาซึ่ง Acceptance Record ที่ลงรับโดยลูกค้า
2. กระบวนการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Implementation)
กระบวนการดำเนินงานพัฒนาซอฟต์แวร์จากแผนที่ได้รับในขั้นตอนการบริหารโครงการ วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้คือ ทำให้แน่ใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์นั้นพร้อมตอบสนองความต้องการลูกค้า ประกอบ ด้วย 6 กิจกรรมหลัก คือ
01 การเริ่มต้นการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Implementation Initiation)
เป็นการเริ่มต้นกระบวนการของ Software Implementation โดยการแจ้งกิจกรรมต่างๆที่วางแผนไว้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบโดยทั่วถึง ซึ่งอาจจะมีการประชุม (Kick Off Meeting)
02 การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า (Software Requirement Analysis)
วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดความต้องการของลูกค้า พร้อมจัดทำออกมาเป็นเอกสาร งานที่สำคัญในขั้นตอนนี้คือ การระบุความต้องการของลูกค้าให้ชัดเจนและทำเอกสาร Software Requirement Specification เพื่อให้บริษัทผู้พัฒนาและลูกค้ามีความเข้าใจตรงกัน
03 การเปลี่ยนความต้องการของลูกค้าให้เป็นระบบงาน (Software Architectural and Detailed Design)
เป็นกระบวนการแปลงความต้องการของลูกค้าเป็นระบบงาน โดยเป็นการวิเคราะห์และออกแบบระบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตาม Requirement Specification ที่ได้รับการยืนยันจากลูกค้า
04 การเขียนซอฟต์แวร์ (Software Construction- Coding)
ซึ่งจะนำสิ่งที่ได้ออกแบบนั้นมาเขียนโปรแกรมในรูปแบบ Source Code ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจมีการแยกเขียนซอฟต์แวร์เป็น component ย่อยๆ
05 การบูรณาการและการทดสอบระบบ (Software Integration and Tests)
การทดสอบว่า component ของซอฟต์แวร์สามารถทำงานร่วมกัน โดยบูรณาการ component เข้าด้วยกันและทำการทดสอบทั้งระบบ
06 การส่งมอบให้กับลูกค้า (Product Delivery)
โดยมีการทำการทดสอบ Customer Acceptance Test และส่งมอบซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้า ซึ่งอาจมีการทำเอกสาร เช่น คู่มือการใช้งาน คู่มือการติดตั้ง หรือแพ็คเกจประกอบการส่งมอบด้วย
จะเห็นได้ว่า ISO 29110 มีขั้นตอนมากมายเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า ซอฟต์แวร์จากผู้ให้บริการที่ได้รับมาตรฐาน ISO นั้น มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงในระดับสากล มีความน่าเชื่อถือ และการตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน จึงไม่แปลกใจเลยที่ลูกค้าจะเลือกผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน ISO 29110
ISO 29110 เปิดประตูผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยสู่เวทีโลก
สรุปประโยชน์ของ ISO 29110 สำหรับลูกค้า
- มั่นใจได้ว่าจะได้รับซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการใช้งาน
- ซอฟต์แวร์มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้จากกระบวนการทดสอบที่เข้มงวด
- ได้รับการตอบสนองและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีขั้นตอนการทำงานที่เป็นระบบ
- มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบความคืบหน้าของโปรเจ็คได้ตลอดเวลา
- งบประมาณและระยะเวลามีความชัดเจน ลดความเสี่ยงในการลงทุน
สรุปประโยชน์ของ ISO 29110 สำหรับผู้ให้บริการ
- มีกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีขั้นตอนที่ดี
- การจัดการ Project มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการวางแผนที่ดี มี Timeline และงบประมาณ ชัดเจน
- การลดความเสี่ยง โดยขั้นตอนแต่ละขั้นตอน จะช่วยให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สามารถระบุความเสี่ยง ตั้งแต่การวางแผน ไปจนถึงขั้นตอนการทดสอบ
- ลดความเข้าใจผิดระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ เนื่องจากจะมีการสรุปความต้องการเริ่มตั้งแต่การออกแบบ ทำการเอกสารสรุป Specification ที่ชัดเจน
- การที่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจาก ISO 29110 เป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันในระดับโลก ซึ่งหมายความว่าผู้พัฒนาที่ได้รับมาตรฐานนี้จะได้รับความน่าเชื่อถือจากลูกค้า
มาตรฐาน ISO 29110 เสริมความเชื่อมั่นจากคู่ค้าและลูกค้าให้แก่บริษัท เรซคู ไทย
ในปี 2567 ทางบริษัท เรซคู ไทย จำกัด ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 29110 ซึ่งเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่จะพัฒนาให้องค์กรพร้อมตอบสนองความต้องการของพันธมิตรด้วยคุณภาพระดับสากล โดยสามารถมั่นใจได้ว่าการทำงานแต่ละขั้นตอนของบริษัทมีมาตรฐาน สามารถติดตามความก้าวหน้าและความถูกต้องได้อย่างชัดเจน พร้อมความโปร่งใสทุกขั้นตอน