โลกดิจิตอลต้องการรูปแบบการจัดการสินทรัพย์แบบใหม่เพื่อรับรองว่าองค์กรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง ระบบการจัดการสินทรัพย์องค์กร (Enterprise asset management – EAM) ช่วยในการจัดการสินทรัพย์ผ่านการจัดซื้อการใช้งาน และการบำรุงรักษา
มีนาคม 2023
Q คำถามโดย IFS
A ตอบโดย Mickey North Rizza รองประธานกลุ่ม ซอฟต์แวร์องค์กรและ CX
Q: โลกดิจิตอลเปลี่ยนวิธีการจัดการสินทรัพย์ของเราอย่างไร?
A: องค์กรได้พัฒนาไปมากกว่าแค่บุคลากร ประสิทธิภาพการทำงาน และกระบวนการ ในปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิตอลมีบทบาทสำคัญมากขึ้น และองค์กรต่างๆ พยายามหาหนทางที่จะเพิ่มศักยภาพสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจให้ได้มากที่สุด ในอดีต พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงานบำรุงรักษาสินทรัพย์ขององค์กรมาก แต่ด้วย Digital Transformation ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในงานนี้ โดยมีการติดตาม แจ้งเตือน และการทำงานแบบอัตโนมัติแบบ 24 x 7
อ้างอิงตามงานวิจัย SaaSPath ในปี 2023 ของ IDC 36.8% ขององค์กรได้ใช้ระบบ IoT อย่างเช่น ระบบเซ็นเซอร์ในการตรวจสอบอุปกรณ์เมื่อเริ่มทำงาน หยุด ขัดข้อง และดำเนินงานบำรุงรักษาตามสเกล นอกจากนี้ องค์กรอย่างน้อย 26% ได้ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจสอบด้วยสายตาตามสเกล ในขณะที่ 28% ขององค์กรวางแผนที่จะใช้ระบบ AI /อินเทอร์เฟซเสียงในอีก 12 เดือนข้างหน้า เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเหล่านี้ช่วยให้องค์กรไม่เพียงแต่ด้านการจัดการ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาเครื่องจักรเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานอีกด้วย
Q: อะไรคือประโยชน์ของการจัดการสินทรัพย์?
A: การจัดการสินทรัพย์เชื่อมโยงสินทรัพย์ขององค์กรทั่วทุกไซต์งานและทุกสถานที่ โดยจะมีการรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดมุมมองการดำเนินงานที่เป็นเอกเทศ ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจ และด้วยกลยุทธ์การจัดการสินทรัพย์องค์กรที่ยืดหยุ่น องค์กรต่างๆ สามารถจัดการทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตสินทรัพย์ได้อย่างง่ายดาย ตั้งแต่การออกแบบเบื้องต้นไปจนถึงการสร้าง เริ่มใช้งาน ใช้งานจริง บำรุงรักษา เพิ่มประสิทธิภาพ และการเลิกใช้งาน รับประกันความพร้อมใช้งานของสินทรัพย์ตลอดวงจรชีวิตทั้งหมด
เทคโนโลยี EAM จะช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย อย่างเช่น การเพิ่มผลผลิต การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนการควบคุมที่ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น บางองค์กรใช้ EAM เพื่อปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลังและการจัดซื้อ ติดตามการจัดซื้อ และต้นทุนของ Work Order ถูกจัดเก็บอย่างถูกต้อง ขั้นตอนการทำงานอัตโนมัติเหล่านี้เพิ่มประสิทธิภาพในขณะที่ลดข้อผิดพลาด
อีกตัวอย่างหนึ่งของประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นคือความสามารถที่จะสร้างสมดุลระหว่างข้อกำหนดในการปฏิบัติงานกับความต้องการงานบำรุงรักษา การดำเนินกระบวนการที่เป็นมาตรฐานเพื่อวางแผน จัดตาราง และดำเนินงานบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเพิ่ม Runtime และความพร้อมใช้งานของสินทรัพย์ ในขณะเดียวกันก็ลดเวลา Downtime ที่ไม่ได้วางแผนหรือการขัดข้อง
Q: อะไรคือแนวทางปฎิบัติที่ดีที่สุดช่วยให้มั่นใจถึงความพร้อมใช้งานของสินทรัพย์?
A: ความพร้อมใช้งานของสินทรัพย์อาศัยเทคโนโลยีดิจิตอลที่ช่วยกำกับดูแลข้อมูลแบบเรียลไทม์พร้อมการบำรุงรักษาและขั้นตอนการทำงานที่ระบุและแก้ไขความผิดปกติก่อนที่ธุรกิจจะได้รับผลกระทบ การจัดการสินทรัพย์รวมถึงการเข้าใจสินค้าคงคลังของคุณ ช่วยสร้างระดับการบริการ การใช้การจัดการที่คุ้มค่าและการคำนวณต้นทุนตลอดอายุการใช้งาน สิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องใช้การมองสินทรัพย์แบบ Portfolio – ต้นทุนของสินทรัพย์ ต้นทุนการจัดการเพิ่มเติมและสรุปโดยรวมของสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้
นอกจากนี้ คุณจะต้องใช้หลักปฏิบัติที่สำคัญสองประการ:
การควบคุมแบบเรียลไทม์: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกสินทรัพย์ทำงานตามที่ต้องการรวมถึงประสิทธิภาพการผลิต สุขภาพสินทรัพย์ และเป้าหมายด้านความยั่งยืน บางองค์กรที่มีส่วนงานภาคสนามอาจใช้ประโยชน์จากโดรน LiDAR และนวัตกรรมอื่นๆ เพื่อตรวจสอบสภาพสินทรัพย์ สามารถใช้หุ่นยนต์เพื่อปรับปรุงการอ่านเซ็นเซอร์และช่วยในการตรวจสอบ ซึ่งช่วยลดงานที่ต้องใช้แรงงานคนดำเนินการ
การบำรุงรักษาแบบตอบสนอง: ขยายวงจรชีวิตสินทรัพย์และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน อีกทั้ง AI และ Machine Learning (ML) จะช่วยสนับสนุนโมเดลการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์และการบำรุงรักษาเชิงให้คำแนะนำ เทคโนโลยีเสมือนจริง เทคโนโลยีความจริงเสมือน (AR/VR) ช่วยในการวินิจฉัยและให้บริการจากระยะไกลได้
Q: การจัดการสินทรัพย์สนับสนุนเป้าหมายความยั่งยืนอย่างไร
A: จากการสำรวจของ IDC ในปี 2022 หัวข้อ Worldwide ESG Business Services Buyer Value พบว่า 50% ขององค์กรต่างๆ กำลังก้าวไปสู่กลยุทธ์ธุรกิจที่ยั่งยืนที่บูรณาการอย่างเต็มรูปแบบและขับเคลื่อนตามวัตถุประสงค์ เพื่อซัพพอร์ตข้อกำหนดด้านกฎระเบียบและสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล (ESG) ด้วยสินทรัพย์และข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วทั้งการดำเนินงานทำให้สามารถติดตามเป้าหมายและเกณฑ์ด้านความยั่งยืนได้อย่างง่ายดาย เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามข้อกำหนด ระบบการแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์ช่วยแจ้งปัญหาเพื่อการแก้ไขอย่างทันท่วงที
Q: มูลค่าทางเศรษฐกิจของการจัดการสินทรัพย์ขององค์กรคืออะไร?
A: องค์กรที่เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมและใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดการ ติดตาม และบำรุงรักษาสินทรัพย์ในขณะเดียวกันใช้การจัดการวงจรชีวิตของสินทรัพย์เพื่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ เมื่อองค์กรสามารถออกแบบ จัดหาก่อสร้าง ว่าจ้าง บำรุงรักษา และรื้อถอนสินทรัพย์จากมุมมองของคุณค่า องค์กรจะเป็นผู้ชนะ หากองค์กรสามารถดูแลสินทรัพย์ได้ดียิ่งขึ้นจะสามารถรับประกันประสิทธิภาพการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ได้สูงสุด
การจัดซื้อสินทรัพย์ใหม่จำเป็นต้องมีกลยุทธ์การลงทุนและการอนุมัติ แต่หากองค์กรสามารถรักษาสินทรัพย์ที่มีอยู่ โดยใช้เทคนิคการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและปรับปรุงสินทรัพย์ให้ทันสมัยด้วยนวัตกรรม องค์กรสามารถเพิ่มอายุขัยของสินทรัพย์เหล่านั้นได้ เมื่อองค์กรสามารถลดการใช้จ่ายในสินทรัพย์ใหม่ และแทนที่โดยการตรวจสอบ บำรุง รักษา และรักษาสินทรัพย์ให้อยู่ในสภาพดี องค์กรก็จะได้รับคุณค่ามากขึ้น ค่าใช้จ่ายลดลง มีการใช้สินทรัพย์ยาวนานขึ้น และองค์กรสามารถรักษาประสิทธิภาพการทำงานได้จากแผนการบำรุงรักษา อีกทั้ง องค์กรยังค้นพบประโยชน์เพิ่มเติมที่สามารถวัดปริมาณได้ เช่น
» การควบคุมที่ดียิ่งขึ้น การบริหารความเสี่ยง และการประหยัดในการบำรุงรักษาด้วยการติดตามสินทรัพย์
» ประสิทธิภาพการดำเนินงานเพิ่ม Runtime แทน Downtime
» การทำรายงานการเงินได้ง่ายขึ้น
» ปรับปรุงประสบการณ์ลูกค้า
» ปรับปรุงความน่าเชื่อถือด้วยการตรวจสอบและบำรุงรักษา
นอกจากนี้ การใช้ AI ML และ AR/VR แม้แต่แท็บเล็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ช่วยทำให้สินทรัพย์เป็นมิตรกับผู้ใช้มากขึ้น บูรณาการข้อมูลได้มากขึ้น ปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน และเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ผู้ใช้ เนื่องจากความพยายามเหล่านี้ช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้มากขึ้น องค์กรต่างๆ จึงสามารถชะลอการลงทุนซื้อสินทรัพย์ใหม่ได้
การใช้สินทรัพย์ได้เต็มศักยภาพ การตรวจสอบประสิทธิภาพของสินทรัพย์ และการบำรุงรักษาสินทรัพย์จะช่วยให้ธุรกิจประหยัดได้ สามารถนำเงินไปลงทุนในด้านอื่นๆ อื่นๆ ในขณะที่ลดต้นทุนของสินทรัพย์หมุนเวียนและยังคงรักษาประสิทธิภาพสูงสุด – ผลลัพธ์ที่มีคุณค่าทั้งหมด
กรุณากรอกแบบฟอร์ม
สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน Enterprise Asset Management