การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ถือได้ว่าเป็นหัวใจหนึ่งในการลดต้นทุนขององค์กร โดย Supply Chain จะดูแลกระบวนการขับเคลื่อนของสินค้าและบริการ ตั้งแต่ต้นน้ำคือ การจัดการใบสั่งขาย (Sales Order) จากลูกค้า ทำการจองสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้า (Warehouse) ไปจนถึงปลายน้ำ คือ การจัดหาสินค้าหรือวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ โดยใช้ระบบการจัดซื้อ (Purchasing) เพื่อนำส่งเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือนำสินค้าเข้าคลังสินค้า เพื่อจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าตามใบสั่งขาย
SCM on IFS Cloud
โซลูชัน SCM on IFS Cloud มีฟังก์ชันต่างๆที่มีประสิทธิภาพในการจัดการงานด้านห่วงโซ่อุปทาน ไม่ว่าจะเป็นการอัพเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำระหว่างแผนกขายแผนกคลังสินค้า และแผนกจัดซื้อ นอกจากนี้ยังสามารถปรับแต่งขั้นตอนการทำงานให้เหมาะสมตามประเภทธุรกิจของลูกค้า
ระบบการจัดการคำสั่งขาย (Customer Order)
Customer Order ถือว่าเป็นต้นทางของห่วงโซ่อุปทานที่จะนำส่งสินค้าและบริการไปถึงมือลูกค้า โดยระบบจัดการคำสั่งขาย Customer Order เริ่มการเปิดใบเสนอราคา (Sales Quotation) เพื่อทำเสนอสินค้าและบริการแก่ลูกค้า โดยจะมีรายละเอียดไม่ว่าเป็นรหัสสินค้า ชื่อสินค้า จำนวนขาย ราคาขาย สถานะของใบเสนอราคา วัน และสถานที่ส่งมอบ เป็นต้น
เมื่อลูกค้าตอบรับใบเสนอราคา ระบบสามารถเปลี่ยนใบเสนอราคาให้กลายเป็นใบสั่งขาย (Customer Order) ได้อย่างรวดเร็ว ลดปัญหาข้อผิดพลาดระหว่างใบเสนอราคาและใบสั่งขาย โดยใบสั่งขายจะเริ่มทำการจองสินค้า (Reserve) ที่มีอยู่แล้วในคลังสินค้า หรือสั่งผลิต (Shop order) เพื่อเตรียมนำส่งสินค้า สถานะของ Customer Order จะเปลี่ยนไปตามขั้นตอนการขายที่ได้ออกแบบไว้ ยกตัวอย่างสถานะ เช่น Released (ยืนยันแล้ว), Picked (หยิบของแล้ว) และ Delivered (ส่งสินค้าแล้ว) สุดท้ายคือการออกใบแจ้งหนี้ (Invoiced/Closed) พร้อมนำส่งสินค้า และส่งข้อมูลต่อไปยังระบบบัญชีลูกหนี้เพื่อทำการรอรับชำระค่าสินค้า
Dashboard – Customer Order Management
หน้าจอ Customer Order Management ซึ่งจะรวบรวมข้อมูล Customer Order แยกตาม Site หรือ ตามบริษัท ทำให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมของใบสั่งขายตามสถานะต่างๆของใบสั่งขาย
ระบบการจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse Management)
ระบบ On Cloud จะช่วยให้ เจ้าหน้าที่คลังสินค้าสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น อย่างเช่น การตรวจรับสินค้านอกสถานที่ เจ้าหน้าที่สามารถทำงานผ่านแท็บเล็ต หรือโทรศัพท์มือถือเข้าถึงข้อมูลที่ต้องใช้ในการตรวจรับงาน หรือสินค้า โดยสามารถลงทะเบียนการรับสินค้าแบบเรียลไทม์
นอกจากนี้ ระบบสินค้าคงคลัง ยังมีฟังก์ชันที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถเห็นสภาพ (Capacity) ของคลังสินค้าแต่ละแห่งโดยผ่าน Warehouse Navigator โดยพนักงานจะทราบถึงขนาด (Sizing) ของคลังสินค้าและเงื่อนไขพิเศษ อย่างเช่นอุณหภูมิของคลังสินค้า รวมถึงรายการสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้านั้น โดยเจ้าหน้าที่สามารถทำฟังก์ชันกับสินค้า อย่างเช่น การเคลื่อนย้ายไปยังคลังสินค้าอื่น, การทิ้ง (scrap) หรือการตรวจดูรายละเอียดการจองของสินค้านั้น
นอกจากนี้ระบบ Warehouse ของ IFS ยังมีฟังก์ชันที่ช่วยเจ้าหน้าที่คลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันในการนับสินค้า (Counting) ระบบการจัดการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้า อย่างเช่น Stock Card และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง อย่างเช่น Pick List, Delivery Note
Dashboard – Warehouse Instant View
Shipping Planner Outbound
Lobby สำหรับดู Performance การส่งของให้ลูกค้า แสดงรายละเอียดทั้งในส่วนของ Customer Order และ Shipment
ระบบการจัดซื้อ (Purchasing)
ระบบ Purchasing จะเริ่มจากใบคำขอจัดซื้อ (Purchase Requisition) ซึ่งสามารถมาไหลมาจากส่วนงานของทั้งองค์กร ไม่ว่าจากแผนกการผลิตสั่งซื้อวัตถุดิบ, การสั่งเพื่อเติมสินค้า(Re-order Point) ในคลังสินค้า, แผนกบำรุงรักษาสั่งซื้ออะไหล่จาก Sales Order ของแผนกขาย และระบบจะทำการรวบรวมทำการคำสั่ง คำนวณปริมาณที่เหมาะสม ทำให้องค์กรลดปัญหา Dead Stock และรักษาระดับสมดุลของสินค้าคงคลังที่เหมาะสม
นอกจากนี้บริษัทยังสามารถออกแบบขั้นตอนการจัดซื้อตามที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการอนุมัติสามารถกำหนดได้ทั้งแบบกลุ่มหรือตามลำดับมูลค่าการจัดซื้อ ยกตัวอย่าง เช่น การจัดซื้อมูลค่าต่ำกว่า 1 ล้านอาจจะให้เฉพาะผู้จัดการแผนกจัดซื้ออนุมัติ แต่มูลค่าสูงกว่า 1 ล้าน จะต้องมีผู้จัดการแผนกและกรรมการผู้จัดการอนุมัติตามลำดับขั้น และฝ่ายจัดซื้อสามารถทำการ Tracking สถานะใบขอจัดซื้อ หรือ ใบสั่งซื้อ จนถึงการตรวจรับสินค้าหรือบริการจากซัพพลายเออร์ ทำให้ข้อมูลการรับสินค้าถูกส่งต่อไปแผนกที่ดูแลสินค้าคงคลังได้อย่างแม่นยำ
Purchasing Dashboard ทูลที่ช่วยในการวิเคราะห์การทำงานของแผนกจัดซื้อ จัดทำในรูปแบบของกราฟ ทำให้เข้าใจง่าย และสามารถเข้าถึงข้อมูลโดยการคลิ๊กที่ตัวเลขเท่านั้น ซึ่งระบบ Purchasing ของ IFS นั้นก็มี Dashboard หลายๆตัว ที่ช่วยในการวิเคราะห์ ยกตัวอย่างเช่น
Operational Procurement ซึ่งจะแสดงสถานะของใบคำขอจัดซื้อ ใบจัดซื้อ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเห็น
รวมของงานฝ่ายจัดซื้อได้
Operational Buyer ทางผู้จัดการแผนกจัดซื้อสามารถมองเห็นภาพรวม Work Load ของพนักงานแต่ละคน
Supplier Performance จากหน้าจอนี้สามารถเลือกตาม Supplier เพื่อวิเคราะห์การทำงานของซัพพลายเออร์แต่ละราย รวมถึงข้อมูลในห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางสามารถทำงานเชื่อมต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ในการลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ และเพิ่มประสิทธิภาพการส่งมอบสินค้าและบริการให้กับลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ ERP สามารถกรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับได้ที่นี่