5 MEGATREND ที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ พร้อมเหตุผลว่าทำไมการทำงานข้ามสายงาน (Cross-Functional Approach) จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ในปัจจุบัน โลกกำลังเปลี่ยนแปลงเกินกว่าที่จะคาดการณ์ การหยุดชะงักกำลังรุนแรงขึ้น เกิดขึ้นเร็วขึ้น ส่งผลกระทบหนักขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่เหมือนในอดีตอีกต่อไป ขอต้อนรับสู่ความจริงอันถัดไป

Megatrend 1: การเริ่มต้นของ Digital Transformation

จากผลสำรวจอนาคตของภาคการผลิต ที่ทาง IFS ได้จัดทำขึ้นประกอบด้วยข้อมูลของ IDC แสดงให้เห็นถึงการเติบโตในการใช้ระบบดิจิตอลซึ่งมีผลตอบรับที่ดี    โดยส่งเสริมด้านผลกำไรและการเติบโตในระยะเวลาแตกต่างกัน การสำรวจแสดงให้เห็นว่าบริษัทผู้ผลิตที่ได้เริ่มนำ Digital Transformation มาใช้ในระดับหนึ่งได้เริ่มเห็นการเพิ่มขึ้นของผลกำไร ในขณะที่บริษัทที่ยังคงใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าน้อยกว่าเริ่มได้รับผลกระทบการลดลงของผลกำไรมากขึ้นในปีงบประมาณล่าสุด

นี่เป็นอีกหนึ่งเครื่องเตือนใจว่าการเติบโตทางดิจิทัลไม่เพียงแต่ขับเคลื่อนผลการดำเนินงานของบริษัทในเชิงบวกเท่านั้น แต่ยังสร้างความยืดหยุ่นในช่วงเวลาที่ผันผวนอีกด้วย ดังนั้นบริษัทต่างๆ ควรเริ่มดำเนินการระบบนำร่องให้สำเร็จและก้าวไปสู่ยุคดิจิทัลขั้นต่อไป

เราเห็นว่า Digital Transformation เป็นวิวัฒนาการ เพราะมีลักษณะเป็นเฟสหรือเป็นเวฟมีเป้าหมายเพิ่มการเติบโตทางด้านดิจิตอล    ทางสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีและบริการ (TISA) เปิดตัวหนังสือที่น่าสนใจเกี่ยวกับความลังเลด้านดิจิตอล (Digital Hesitation) ซึ่งอธิบายการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในสองช่วง โดยเวฟที่ 1 จะมุ่งเน้นไปที่โมเดลธุรกิจใหม่ การเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ และการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น  ในขณะที่บริษัทหลายแห่งยังคงทำงานโครงการต่างๆในเวฟที่ 1  สำหรับ Digital Transformation ในเวฟที่  2 ค่อนข้างมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า และลดความซับซ้อนของการใช้ระบบทั้งหมด ทางสมาคม TISA เสนอความคิดชัดเจนมากว่า Digital Transformation ต้องใช้การทำงานข้ามสายงานและเป็นองค์รวมมากขึ้น

Megatrend 2: การสร้างรายได้จากข้อมูล

ในเศรษฐกิจดิจิตอลปัจจุบัน ความสามารถในการสร้างคุณค่าทางธุรกิจจากข้อมูลนั้นเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุดขององค์กร  และด้วยข้อมูลที่ถูกต้องทำให้ธุรกิจสามารถพัฒนาและทำให้กระบวนการตัดสินใจเร็วขึ้น ปรับปรุงการดำเนินการของบริษัท เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน (ดูรายละเอียดใน Megatrend  3 และ 4)

บริษัทแม็คเคนซี่ได้อธิบายอย่างชัดเจนว่าการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถเปลี่ยนวิถีการดำเนินธุรกิจ รวมถึงลักษณะการแข่งขัน  สิ่งที่สร้างความแตกต่างก็คือกลยุทธ์ในการวิเคราะห์ข้อมูล โครงสร้างองค์กรและภาวะการเป็นผู้นำ  ความสนใจในหัวข้อกลยุทธ์นี้จะรวมถึงการจัดการด้านทักษะสำหรับความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและโดเมน

อย่างไรก็ตาม หนึ่งในความท้าทายสำคัญที่เรา (ยังคง) เห็นคือ การไม่สามารถจัดการกับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่การลงทุนด้านดิจิทัลของเราสร้างขึ้นได้  การขาดความสามารถในการบูรณาการระบบปฏิบัติ การและระบบธุรกิจเข้าด้วยกัน และข้อมูลที่ด้อยในด้านคุณภาพ การที่มีแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียวได้กลายมาเป็นผู้เปลี่ยนเกมสำหรับบริษัทต่างๆที่ต้องการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนด้านดิจิทัล และเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลทั่วทั้งองค์กร

กลยุทธ์การสร้างรายได้จากข้อมูลได้พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงสร้างแนวโน้มสำคัญที่ 3 ของเรา ตัวอย่างเช่น บริษัทฟิลิปล์ ได้อธิบายกลยุทธ์แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ ข้อมูลในรูปแบบบริการ (Data-as-a-service)  ข้อมูลเชิงลึกในรูปแบบบริการ (Insights-as-a-service)  ระบบนิเวศของข้อมูลในรูปแบบบริการ (Ecosystems-as-a-Service) และการวิเคราะห์ในรูปแบบบริการ (Analytics-as-a-service)

Megatrend 3:  การบริการภิวัฒน์และรูปแบบธุรกิจใหม่

การบริการเริ่มมีบทบาทที่สำคัญมากขึ้นในความสำเร็จขององค์กร  ในอีกด้านหนึ่ง การบูรณาการที่ครบถ้วนและการริเริ่มของนวัตกรรมด้านการบริการในกระบวนการพัฒนาการโซลูชั่นใหม่ๆ ผลิตภัณฑ์ และระบบใหม่ๆ ซอฟต์แวร์เป็นสิ่งจำเป็นในการส่งมอบภายหลังให้กับลูกค้า 

บริษัท ฟิลิปส์ได้พัฒนานวัตกรรมโซลูชันส์และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ การทำงานเป็นทีมที่แน่นแฟ้นระหว่างทีมวิจัยและพัฒนา ทีมบริการ การตลาดผลิตภัณฑ์ และทีมงานอื่นๆ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการพิจารณาว่าความสามารถใหม่ใดบ้าง (กระบวนการ เครื่องมือ เนื้อหา) บทบาท/ทักษะ และแนวทางระบบ End to End (E2E) ที่จำเป็นเพื่อให้ประสบความสำเร็จในที่สุด ในช่วงเวลาการบริการที่ยอดเยี่ยมสำหรับลูกค้า

ในทางกลับกัน เราได้เห็นการบริการที่อิงผลลัพธ์และนวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  ลูกค้าไม่ต้องเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อีกต่อไป แต่กลายเป็นลูกค้าสามารถเข้าถึงและบริโภคได้แทน เราเห็นอุปสงค์ทั้งจากตลาดแบบธุรกิจสู่ผู้บริโภค Business-to-Customer (B2C) และ ตลาดธุรกิจสู่ธุรกิจ Business-to-Business (B2B) ทั้งสองตลาดซึ่งได้แรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด องค์กรไม่ต้องการเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์อีกต่อไป แต่ชอบที่จะมีอิสระในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์เวอร์ชันใหม่ล่าสุดในรูปแบบของการบริการตามความต้องการ ณ เวลาใดก็ตาม สำหรับผู้ใช้งานหรือผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์จะกลายเป็นการบริการที่สามารถนำมาใช้ จัดซื้อ หรือยกเลิกในเวลาใดก็ได้  สำหรับบริษัทนี่ไม่ใช่สิ่งที่แผนกบริการสามารถกำหนดได้เพียงแผนกเดียว แต่บริษัทจะค่อนข้างต้องใช้การร่วมมือกันแบบแนวนอนจากทุกแผนกของบริษัท – ซึ่งการทำงานแบบแยกแผนกไม่สามารถดำเนินการได้อีกต่อไป

Megatrend 4: การหมุนเวียน

ช่วงนี้มีกระแสฮือฮามากมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และสำหรับองค์กรที่คิดว่ามันไม่เกี่ยวข้องหรืออยู่ห่างไกลเกินไปควรเริ่มตรวจสอบหัวข้อนี้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและระบบนิเวศของตน อ้างอิงจากการศึกษาของ Bain & Consulting มีผู้บริหารประมาณ 33% ที่คิดว่าอุตสาหกรรมของตนจะหยุดชะงักจากการเริ่มต้นระบบหมุนเวียนที่จะนำผลิตภัณฑ์หรือวัสดุกลับเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน

การหมุนเวียน – การค้นหาหนทางที่จะนำผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบ และวัสดุกลับเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทาน ไม่เพียงแต่จะเป็นหนทางในการลดคาร์บอนและลดการพึ่งพาวัตถุดิบที่มีจำกัดเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสอันยิ่งใหญ่สำหรับการเติบโตของธุรกิจ นวัตกรรม การสร้างงานใหม่ และโอกาสทางธุรกิจ เราต้องพิจารณาด้วยว่า 80% ของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดถูกกำหนดในระหว่างขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์

ข้อมูลที่น่าสนใจเช่นกันที่ทาง MHP บริษัทที่ปรึกษาซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของ IFS ได้อธิบายแนวทางการประเมินเพื่อวัดผลการหมุนเวียนของผลิตภัณฑ์อย่างไร    จากมุมมองของเราสิ่งสำคัญคือการหมุนเวียนจำเป็นต้องครอบคลุมวงจรชีวิตทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ ซึ่งรวมทั้งบริการและรูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ด้วย

Megatrend 5: ความสามารถ (Talent)

ดังที่เราทราบ ภาคการผลิตและบริการกำลังประสบปัญหาเรื้อรังด้านบุคลากรซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรต่างๆ ทั่วโลก และสิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ หากไม่มีทักษะความสามารถที่เหมาะสม บริษัทต่างๆ จะไม่สามารถประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้ จากการศึกษาของเรากับ IDC พบว่า 80% ขององค์กรภาคการผลิตขาดทักษะด้านดิจิทัล ซึ่งจะเป็นอุปสรรคทำให้บริษัทต่างๆ ไม่สามารถพัฒนาความคิดริเริ่มด้านดิจิทัลและขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจได้ นี่คือเหตุผลที่บริษัทต่างๆ จำเป็นต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านบุคลากรมากขึ้น    ดังที่เราได้กล่าวไปแล้วข้างต้น เทคโนโลยีกำลังก้าวหน้าในอัตราที่น่าอัศจรรย์และด้วยเหตุนี้ประเภทของทักษะที่บริษัทต้องการจึงพัฒนาตามไปด้วย  กลยุทธ์ด้านความสามารถและรายละเอียดงานจำเป็นจะต้องได้รับการปรับปรุงใหม่  เมื่อไม่นานมานี้บริษัท McKinsey ได้นำเสนอแนวทางแบบองค์รวมในบทความ Digital Transformations: ปัจจัยด้านความสามารถ 5 ประการที่สำคัญที่สุด

ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการจัดการความสามารถ คือ การระบุและการพัฒนาทักษะความ สามารถแบบทำงานข้ามสายงาน (Cross-Functional) ได้อย่างพอเพียงและพัฒนาแบบองค์รวมได้อย่างเพียงพอจะสามารถทำให้แนวโน้มสำคัญที่เราได้กล่าวถึงเกิดขึ้นได้

โดยสรุป:  

ดังที่แสดงไว้ข้างต้น เราได้เห็น 5 Megatrend ที่จะผลักดันการเปลี่ยนแปลงและท้าทายวิถีทางดั้งเดิมของรูปแบบการทำงาน/ดำเนินการ

Megatrend เหล่านี้ไม่แตกต่างจากที่อื่น แต่มีความเชื่อมโยงถึงกันและกัน โดยมี Megatrendที่ 5 ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสามารถจะเป็นเสมือนตัวประสานที่ทำให้ทุกแนวโน้มเกิดขึ้น       พวกเราต้องการความสามารถในการคิด ดำเนินการ ทำงานแบบแนวนอน และข้ามสายงานในองค์กร   จากมุมมองของเราความ สามารถที่มีทักษะสูงเหล่านี้หาได้ยากในบริษัทส่วนใหญ่ ดังนั้นการระบุ การพัฒนา และการสนับสนุนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง   อีกแง่มุมหนึ่งคือการกำกับดูแลข้ามสายงานและการกำกับดูแลภายในองค์กร ผสมผสานกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงที่ยอดเยี่ยม เพื่อพาทุกคนในองค์กรไปสู่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ สุดท้ายนี้ การเปลี่ยนแปลงที่ใช้ประโยชน์จาก Megatrend เหล่านี้ต้องใช้เวลา สิ่งสำคัญคือต้องแบ่งออกเป็นขั้นตอนเล็กๆ และทำวนซ้ำๆ เพื่อสร้างมูลค่าให้กับลูกค้า และทำให้เกิดช่วงเวลาแห่งการบริการที่ยอดเยี่ยม

กรุณากรอกแบบฟอร์ม

สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน Manufacturing

We use cookies to improve performance. and good experience in using your website You can study the details at Privacy Policy and you can manage your own privacy by clicking Setting

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้การตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Ads และ Facebook Pixel

Save