ในภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน บริษัทด้าน Field Service ได้รับแรงกดดันที่จะต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยให้องค์กรได้รับประโยชน์ในการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ปรับปรุงการให้บริการลูกค้า และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม ยังคงมีบริษัทอีกมากที่ยังเผชิญอุปสรรคในการเริ่มใช้งานเทคโนโลยี Field Service อุปสรรคสำคัญ 2 ประการ ก็คือข้อกำจัดด้านงบประมาณ และการขาดการยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ (stakeholder) และในการที่จะเอาชนะความท้าทายและนำเทคโนโลยีมาใช้งานอย่างเต็มศักยภาพ องค์กรจะต้องรวบรวมเหตุผลทางธุรกิจที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าและผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนี้
อุปสรรคที่ 1: ข้อจำกัดทางงบประมาณ
อุปสรรคสำคัญในการใช้เทคโนโลยี Field Service มาใช้งานก็คือข้อจำกัดทรัพยากรทางด้านการเงิน องค์กรต่างๆ มักเผชิญกับข้อจำกัดด้านงบประมาณ อันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนทางด้านเศรษฐกิจอัตรากำไรที่น้อยลง และงานสำคัญอื่นๆที่ต้องพิจารณาพร้อมกัน การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงิน ผู้บริหารที่ดำเนินการตัดสินใจอาจเกิดความลังเลเมื่อเจอปัญหาค่าใช้จ่ายมากขึ้นในขณะที่งบประมาณมีจำกัด
ในการเอาชนะอุปสรรคนี้ บริษัทต่างๆ ควรนำแนวทางการคิดแบบมองไปข้างหน้า (Forward-Thinking) สำหรับการใช้งานเทคโนโลยีนี้ โดยแทนที่จะมองว่าเป็นค่าใช้จ่าย ควรมองว่าเป็นการลงทุนที่ให้ผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่า การวิเคราะห์ต้นทุนและประโยชน์ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถระบุการประหยัดค่าใช้จ่าย การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการเติบโตของรายได้อันเป็นผลมาจากใช้เทคโนโลยี การวาง Roadmap ทางด้านการเงินที่ชัดเจนเพื่อทำให้เทคโนโลยีนี้สอดคล้องไปกับเป้าหมายทางกลยุทธ์ จะช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ (stakeholder) คล้อยตามและสนับสนุนการจัดสรรทรัพยากร
อุปสรรคที่ 2: ขาดการยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ (stakeholder)
แม้ว่าจะมีทรัพยากรทางการเงินเพียงพอ แต่การได้รับการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้-เสียนั่นก็เป็นความท้าทายแบบหนึ่ง ผู้มีส่วนได้-เสียตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงช่างเทคนิคภาคสนามอาจต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากกลัวว่าจะเกิดการหยุดชะงักหรือความไม่แน่นอนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเทคโนโลยี การต่อต้านนี้มักเกิดจากการขาดความตระหนักถึงข้อดีที่จะได้จากการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขอุปสรรคนี้ องค์กรต้องมีส่วนร่วมเชิงรุกกับผู้มีส่วนได้-เสียตลอดกระบวนการตัดสินใจ ช่องทางการสื่อสารที่เปิดกว้างและโปร่งใสมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการข้อกังวล ขจัดความเข้าใจผิดแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีสามารถปรับปรุงขั้นตอนการทำงาน ปรับปรุงการให้บริการ และผลดำเนินการทางธุรกิจโดยรวม
สิ่งสำคัญคือต้องกำหนดการวัดความสำเร็จที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางธุรกิจจากการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้และสิ่งที่ผู้มีส่วนได้-เสียจะได้รับ การทำเวิร์คช้อป การดำเนินโครงการนำร่อง และการร่วมมือจากทีมงานหลักในขั้นตอนการคัดเลือกเทคโนโลยี สิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้ทีมงานทุกคนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน ช่วยให้เกิดจากการยอมรับมากขึ้น
การรวบรวมเหตุผลทางธุรกิจ
และเพื่อที่จะเอาชนะข้อจำกัดด้านงบประมาณและได้รับการยอมรับจากผู้มีส่วนได้-เสีย องค์กรจะต้องรวบรวมเหตุผลทางธุรกิจในการโน้มน้าวในการใช้เทคโนโลยี Field Service ขั้นตอนดังต่อไปนี้สามารถแนะนำให้องค์กรในขั้นตอนนี้:
ระบุ Pain Point: เริ่มต้นด้วยการระบุ Pain Point และปัญหาที่ส่วนงาน Field Service เจออยู่ พิจารณาว่าเทคโนโลยีสามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร และปลดล็อกโอกาสที่ซ่อนอยู่ในการปรับปรุง
สรุปข้อดี: การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย-ประโยชน์เพื่อสรุปการใช้เทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงประโยชน์ที่จับต้องและจับต้องไม่ได้ อย่างเช่นการลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
การนำเสนอ ROI: นำเสนอ Road map ที่ชัดเจนให้รายละเอียดเกี่ยวกับผลตอบแทนจากการลงทุนที่คาดหวังในช่วงเวลาที่กำหนด เน้นระยะเวลาในการคืนทุนและแสดงผลกำไรทางการเงินระยะยาวที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยี
วางแผนสอดรับกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีที่นำเสนอสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์กร แสดงให้เห็นว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้จะส่งผลต่อการเติบโตและความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในตลาดได้อย่างไร
การมีส่วนรวมของผู้มีส่วนได้-เสีย: การที่ให้ผู้มีส่วนได้-เสียจากระดับต่างๆขององค์กรมีส่วนรวมในการวางแผนและขั้นตอนการตัดสินใจ จะช่วยลดข้อกังวลและให้โอกาสในการนำเสนอความคิดเห็นเพื่อสร้างฉันทามติและการสนับสนุน
โดยสรุปแล้ว ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีบริการภาคสนามมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การบริการลูกค้าที่ดีขึ้น และการลดต้นทุนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดด้านงบประมาณและการยอมรับของผู้มีส่วนได้เสียก็เป็นความท้าทายที่สำคัญ โดยการรวมรวมเหตุผลทางธุรกิจจะทำให้เห็นถึงมูลค่าและ ROI ของการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และองค์กรสามารถก้าวข้ามอุปสรรรคและแสดงให้เห็นถึงพลังของการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรม ซึ่งการเปิดรับเทคโนโลยีและการลงทุนในโซลูชันการบริการภาคสนามไม่เพียงแต่ขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าเท่านั้น แต่ยังรับประกันอนาคตที่ยั่งยืนและประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมบริการที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
กรุณากรอกแบบฟอร์ม
สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้าน Field Service Management