ระบบ ERP ประกอบด้วยอะไรบ้าง

โปรแกรม ERP ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

โปรแกรม ERP ประกอบไปด้วยโปรแกรมย่อยต่างๆหลายโมดูล ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละองค์กร โดยแต่ละโมดูลจะมีการทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่องค์กรต้องการ แต่ละโมดูลจะมีการทำงานและหน้าที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแผนกการทำงาน

1. โมดูลการจัดการทางการเงิน (Financial and Accounting)

โมดูลนี้มีหน้าที่จัดการงานด้านบัญชีและการเงินขององค์กร ประกอบด้วยฟังก์ชันต่างๆ ดังนี้

  • Account Receivable: บัญชีลูกหนี้ (AR) ฟังก์ชันที่ดูแลส่วนงานรับเงิน ตั้งแต่การออกใบแจ้งหนี้ซึ่งจะเป็นหน้าที่ของทางบัญชีที่รับช่วงต่อการฝ่ายขาย ทางบัญชีจะนำไปวางบิล ไปจนถึงการรับเงินเมื่อใบแจ้งหนี้ครบกำหนดชำระเงิน
  • Account Payable: บัญชีเจ้าหนี้ (AP) เป็นฟังก์ชันที่รับช่วงต่อจากการจัดซื้อ เมื่อทางซัพพลายเออร์มาส่งสินค้าหรือบริการก็จะมีการวางบิล ทางบัญชีจะนำบิลมาตั้งหนี้ (Supplier Invoice) และเตรียมชำระเงิน เมื่อใบแจ้งหนี้นั้นถึงกำหนดชำระเงิน
  • General Ledger: บัญชีแยกประเภททั่วไป (GL) เป็นโมดูลปลายทางของระบบบัญชี โดย Transaction ของทุกๆฝั่งจะไหลไปที่ GL เพื่อให้ฝั่งบัญชีทำการสรุปสถานะทางด้านการเงิน ทำรายงานให้แก่ผู้บริหาร ไม่ว่าจะเป็นรายงานงบดุล งบกำไรขาดทุน เป็นต้น
  • Fixed Asset: โมดูลด้านการจัดการสินทรัพย์ถาวร เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียนสินทรัพย์ ทำการคำนวณค่าเสื่อมราคา หรือฟังก์ชันการนับสินทรัพย์ Physical Count เป็นการเช็คจำนวนของสินทรัพย์ที่มีอยู่จริงและในระบบ และทำการปรับปรุงจำนวนให้ถูกต้อง
  • Cash Flow: ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถมอนิเตอร์และติดตาม Cash Flow ของบริษัท อีกทั้งยังสามารถพยากรณ์จากข้อมูลประวัติของบริษัท ดูเงินเข้าจากบัญชีลูกหนี้ และเงินออกจากบัญชีเจ้าหนี้

2. โมดูลการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM)

โมดูลที่ช่วยจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า ตั้งแต่เริ่มจนจบ ประกอบด้วยโมดูลย่อยๆดังนี้

  • Contact Management: โมดูลนี้จะคอยจัดการฐานข้อมูลลูกค้าและ Prospect ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป เช่น ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ และอีเมล์ รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้านอื่น ฐานข้อมูลนี้จะช่วยให้ฝั่งขายและการตลาดสามารถติดตามประวัติการติดต่อกับลูกค้าได้
  • Lead & Opportunity Management: ฟังก์ชันในการดูแลกิจกรรมติดตามและพัฒนา (Lead Management) เช่น เก็บประวัติการพบลูกค้า ประวัติใบเสนอราคา การพัฒนา Lead จนกระทั่งเมื่อกลายเป็นลูกค้า ฝ่ายขายก็จะบันทึกข้อมูลลูกค้า (Customer Profile) อย่างละเอียด และประมวลผลคำสั่งซื้อโดยการสร้างใบสั่งขาย (Sales Order) ในระบบและการติดตามการจัดส่งสินค้า จากการเก็บประวัติ Sales Order ผู้ใช้งานสามารถดึงข้อมูลส่วนนี้มาทำการพยากรณ์ยอดขาย
  • Sales Force Automation: ระบบอัตโนมัติทางด้านขาย อย่างเช่น การแบ่งลูกค้าในทีมขาย การติดตามใบเสนอราคา การดำเนินใบสั่งซื้อ และการจัดการสัญญาการขาย ปรับปรุงประสิทธิภาพงานขาย
  • Marketing Automation: ระบบจะช่วยงานที่เป็นกิจวัตรประจำวันของฝั่งการตลาด ลดการผิดพลาด ทั้งส่งผ่านอีเมล โซเชียลมีเดีย หรือแคมเปญโฆษณา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลูกค้ารู้สึกถึงความเป็นส่วนตัว และช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • Customer Service & Support: ระบบที่จัดการบริการหลังการขาย (Customer Service) โดยระบบ CRM เป็นระบบที่ไว้จัดเก็บประวัติการบริการหลังการขายเมื่อลูกค้าเกิดปัญหาการใช้งาน โดยระบบ Customer Service จะอำนวยความสะดวกให้กับ Operator ในการจัดทำตารางการบริการโดยสามารถเรียกดูว่าช่างว่างช่วงไหนและทำการจ่ายงานให้กับช่างที่เหมาะสมต่อไป ระบบจะทำการเก็บประวัติการบริการหลังการขาย ซึ่งข้อมูลส่วนนี้สามารถนำไปพัฒนาในการนำเสนอบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย หรือตามผลิตภัณฑ์ได้

3. โมดูลทรัพยากรบุคคล (Human Resource)

โมดูลบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารงานบุคคล การบริหาร และจัดการองค์กร ประกอบด้วยโมดูลดังนี้

  • Organization: โมดูลทรัพยากรบุคคลมีหน้าที่จัดการกับข้อมูลต่างๆขององค์กรและพนักงาน เริ่มตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างองค์กร (Organization) ตามผังองค์กรของลูกค้า หลังจากก็สร้าง Employee นำมา Connect กับแผนกที่พนักงานนั้นสังกัดอยู่ 
  • Employee Profile: โดยการเก็บข้อมูล Employee นั้นสามารถเก็บรายละเอียดไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัว เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงานทั้งก่อนบรรจุและหลังบรรจุของพนักงานไปจนถึงเรื่องครอบครัวของพนักงาน โดยข้อมูลเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารงานด้าน HR 
  • Training: โมดูลด้าน Training จะเก็บประวัติ Training หรือการร้องขอ Training ภายนอกองค์กร หรือองค์กรอาจจะจัด In-House Training โดยวางแผนเป็นรายปี และทำการประกาศให้พนักงานที่สนใจทราบ และทำการลงทะเบียนการฝึกอบรม ซึ่งโมดูลนี้จะมีฟังก์ชันในการจองห้อง เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม การเตรียมวิทยากร ไปจนถึงการเก็บ Feedback จากผู้เข้าร่วมหลังจากการฝึกอบรมเสร็จสิ้น
  • Recruitment: การสรรหาพนักงานเป็นฟังก์ชันที่สำคัญในโมดูลนี้ โดยปกติระบบจะเริ่มเก็บตั้งแต่มีการร้องขอพนักงานใหม่จากหน่วยงานในองค์กร เมื่อคำร้องได้รับการอนุมัติ ระบบจะดำเนินตามที่องค์กรไว้แล้ว อย่างเช่น บางองค์กรอาจจะเลือกประกาศกันภายในก่อน เพื่อให้พนักงานที่สนใจสามารถทำการย้ายหน่วยงานได้ หรือพนักงานเริ่มเก็บข้อมูลคุณสมบัติรวมถึงทักษะที่ทางต้นทางต้องการและทำการประกาศภายนอกองค์กร ผ่านสื่อออนไลน์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ เมื่อมีการยืนใบสมัครเข้ามาก็จะมีการบันทึก Candidate เข้าสู่ระบบทำการสัมภาษณ์และให้คัดเลือก Candidate ที่ต้องการ
  • Skill & Development: โมดูลนี้จะเก็บข้อมูลทักษะความสามารถของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับงาน เช่นทักษะทางภาษา ทางคอมพิวเตอร์ การบริหารโครงการ เป็นต้น การจัดเก็บข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ในการค้นหาพนักงานที่มีทักษะที่ต้องการ เช่น เมื่อมี Project ที่ต้องการ Admin ที่ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี และสามารถใช้โปรแกรม MS office ได้ ฝั่ง HR ก็สามารถที่ค้นหาพนักงานที่มีคุณสมบัติที่ต้องการได้
  • Time Attendance & Payroll: ฟังก์ชันในการจัดเก็บเวลาเข้า-ออกของพนักงาน หากพนักงานมีการทำงานล่วงเวลา ทาง Supervisor ก็สามารถทำการอนุมัติการทำงานล่วงเวลาในระบบ และทาง HR ก็จะนำเวลาข้อมูลทำงานของพนักงานมาทำการจ่ายเงินเดือน

4. โมดูลการผลิต (Manufacturing)

โมดูลการผลิตมีหน้าที่ในการดูแลการผลิตขององค์กร ด้วยฟังก์ชันต่างๆ เช่น

  • Shop Order: ฟังก์ชันในการสร้างใบสั่งผลิต (Shop Order) ตามคำสั่งของลูกค้า หรือจากการพยากรณ์จากฝ่ายขาย  มีรายละเอียดของใบสั่ง อย่างเช่น จำนวนที่สั่งผลิตวันที่ต้องการ ฟังก์ชันนี้จะวางแผนการผลิต ไม่ว่าการจัดตารางงาน การเตรียมวัตถุดิบ
  • Bill of Materials (BOM) & Product Structure: ทูลในกำหนดสูตรการผลิตหรือรายการวัตถุดิบของโครงสร้างสินค้า แสดงข้อมูล ส่วนประกอบ จำนวนวัสดุที่ใช้ ลำดับการผลิตคร่าวๆ ครอบคลุมจนปริมาณที่ใช้ผลิต และระยะเวลาการผลิต ที่ใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า
  • Shop Order Planning: โมดูลที่จะวางแผนในการผลิต โดยระบบจะเช็คทรัพยากรที่มีอยู่ ไม่ว่า
  • จะเป็นวัตถุดิบ เครื่องจักร และคน ระบบจะพยายามที่จะวางแผนที่จะใช้ทรัพยากรเหล่านี้ให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด ในขณะที่ลดต้นทุนการผลิตให้น้อยลงที่สุด

5. โมดูลการจัดการโครงการ (Project)

  • โมดูลการจัดการโครงการมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการโครงการขององค์กร ซึ่งมีฟังก์ชัน
  • Project Planning: โมดูลการสร้างและวางแผน การกำหนด Milestones ของ Project/ งานของแต่ละ Activity/ ทรัพยากรใน Project และ budget
  • Resource Management: ฟังก์ชันที่คอยจัดการทรัพยากรอย่างเช่น บุคลากร อุปกรณ์ และวัตถุดิบที่ต้องใช้ในการดำเนิน Project ฟังก์ชันนี้จะรวมถึงการจัดสรรทรัพยากร (Resource Allocation) การจัดตารางงานบุคลากร และการติดตาม
  • Time and Expense Tracking: ใช้ในการบันทึกเวลาที่ปฏิบัติงานใน Project และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ข้อมูลนี้จะนำมาใช้ด้านการทำ Budget และการทำรายงานด้านการเงิน
  • Reporting and Analytics: เครื่องมือที่ใช้ในการทำรายงานแสดงประสิทธิภาพของ Project การทำรายงานในรูป Dashboard เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกแก่ผู้บริหารให้สามารถเข้าใจความคืบหน้า สถานะการเงิน การใช้ทรัพยากรของแต่ละ Project

6. โมดูลการจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain)

โมดูลการจัดการห่วงโซ่อุปทานมีหน้าที่ในการจัดการห่วงโซ่อุปทานขององค์กร ประกอบด้วยโมดูลหลัก

  • Supplier Management: โมดูลที่จัดการกับซัพพลายเออร์ จัดทำ Supplier Profile เก็บประวัติการติดต่อ การส่งมอบสินค้า การจัดทำ Supplier Agreement
  • Procurement: กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเริ่มตั้งแต่ใบคำขอ Purchase Requisition ไปจนถึงการชำระเงิน การสร้างใบคำขอจัดซื้อ ออกใบจัดซื้อ การรับสินค้า การรับวางบิล และดำเนินไปจนถึงการชำระเงิน ซึ่งระบบจะคอยจัดการการอนุมัติการจัดซื้อโดยสามารถดูจากเงื่อนไขด้านจำนวนหรือราคาและทำการ Notify ผู้ที่เป็น Authorizer ที่ถูกต้องให้ดำเนินการอนุมัติ
  • Inventory Management: จัดการสต็อกสินค้าเพื่อสร้างสมดุลระหว่าง Demand กับ Supply โดยใช้เทคนิคต่างๆ อย่างเช่น ฟังก์ชัน Reorder Point เพื่อจัดการ Safety Stock และมีฟังก์ชันเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามสินค้าคงคลังที่มีอยู่ On Hand ว่ามีจำนวนเท่าใด มีการจองวัตถุดิบจาก Shop Order หรือมีการจองสินค้าจากทางฝั่งขายเพื่อเตรียมนำส่งให้กับลูกค้าเป็นต้น
  • Analytics & Performance Management: ฟังก์ชันในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของ Supply Chain อย่างเช่น อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) อัตราการเติมเต็มคำสั่งซื้อ (Order Fill Rate) การส่งสินค้าตรงเวลา และต้นทุนของสินค้าคงคลัง
ระบบของโปรแกรม ERP ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

ในสภาวะที่การแข่งขันสูงอย่างปัจจุบัน องค์กรที่ต้องการปรับตัวให้อยู่รอดได้ทำ Digital Transformation โดยต่างมองหาโปรแกรม ERP เพื่อช่วยพนักงานให้ทำงานได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นภายใต้การใช้ฐานข้อมูลเดียวกัน

นอกจากโมดูลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ระบบ ERP ยังมีโมดูลอื่นๆเพื่อรองรับความต้องการของแต่ละธุรกิจอื่นๆอย่างครบถ้วน หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือพูดคุยกับผู้เชียวชาญด้านระบบ ERP สามารถกรอกข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับได้ที่นี่:

สำหรับผู้ที่สนใจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านระบบ ERP โดยเฉพาะ

We use cookies to improve performance. and good experience in using your website You can study the details at Privacy Policy and you can manage your own privacy by clicking Setting

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for essential cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้การตลาด

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Ads และ Facebook Pixel

Save